top of page

My Trips: Rome อมตะนคร

.."Three coins in the fountain..Each one seeking happiness Thrown by three hopeful lovers..Which one will the fountain bless?..."

ข้างบนนั้นก็คือส่วนหนึ่งจากบทเพลง Three coins in the fountain (https://www.youtube.com/watch?v=uo8qV1bPqVM โปรดclickเปิดlinkฟังเพลงไปด้วยแล้วอ่านไปด้วยเพื่ออรรถรส)

เพลงนี้เขียนโดย Sammy Cahn ซึ่งเป็น soundtrack จากภาพยนตร์ชื่อเดียวกันขับร้องโดย Frank Sinatra ในปี 1954 ที่ผมเริ่มต้นแบบนี้ก็เพราะผมคิดอยู่เสมอว่าการที่ผมได้เดินทางกลับมาเที่ยวโรมหรืออมตะนครแห่งนี้บ่อยครั้งก็อาจเป็นเพราะตอนที่มาโรมครั้งแรกเมื่อปี80ผมได้ได้โยนเหรียญ500 Lire(ลีร์เร่) ไว้ที่บ่อน้ำพุเตรวี่แห่งนี้ (สมัยนั้นอิตาลีใช้เงินสกุลลีร์ยังไม่ใช่ euro)และได้อธิฐานเอาไว้ว่าขอให้ได้กลับมาอีกซึ่งไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ (ดูจากตัวอย่างรูปของการกลับมาในแต่ละยุคสมัย)

The Trevi: น้ำพุแห่งนี้เชื่อว่าถูกสร้างในสมัยโรมัน ในจุดที่ท่อส่งลำเลียงน้ำที่ชื่อ Aqua Virgo Aqueductในปี 19 B.C. มาสิ้นสุดที่โรม ที่ชื่อ Aqua Virgo, หรือ Virgin Waters ก็เพราะเป็นเกียรติให้กับหญิงสาวบริสุทธิ์คนที่เป็นผู้นำทางทหารโรมันไปพบจุดที่เป็น ‘ตาน้ำ’ หรือต้นกำเนิดน้ำแร่บริสุทธิ์ห่างกรุงโรมออกไป 22 ไมล์ ทำให้จักรพรรดิสั่งให้ทำท่อลำเลียงน้ำจากตรงนั้นเข้ามายังใจกลางโรมเพื่อใช้สำหรับการอาบน้ำแร่แบบ tradition roman bath และดื่ม ทีนี้จุดที่มาสิ้นสุดในโรมนั้นมันมีถนน 3 สายมาตัดกัน ในสมัยนั้นก็เลยเป็นที่มาของชื่อเตร tre แปลว่า 3 vie แปลว่าถนนในภาษาลาติน (ในภาษาอิตาเลียนคือ Via) แต่งานที่ท่านเห็นในปัจจุบันเป็นงานที่สันตะปาปา Pope Clemens XII สั่งให้สร้างนำพุที่สวยงามทับลงในจุดนี้ในปี 1730 และผู้ชนะการประกวดแบบคือ Nicola Salvi ชาวกรุงโรม ทั้งที่จริงแล้วผู้ชนะที่แท้จริงคือ Alessandro Galileo สถาปนิกที่มีสกุลเดียวกับนักดาราศาสตร์ชื่อดังคือ Galileo แต่แพ้ไปเพราะเขาเป็นชาวเมืองฟลอเรนซ์ไม่ใช่โรมและราคา project ก็สูงกว่าของ Salvi ที่เจาะจงใช้หิน travertine stone, จากแม่น้ำ Tiber แบบเดียวกับที่ใช้สร้างสนามประลอง Colossium มันเป็นน้ำพุที่ใหญ่ที่สุดในโรมสูง 85 feet กว้าง 65 feet

แต่ที่น่าสนใจคือมันมีตำนานความเชื่อเรื่องการโยนเหรียญไว้ที่นี่ แต่ต้องโยนให้ถูกวิธีคือต้องหันหลังให้บ่อและโยนข้ามไหล่ซ้ายด้วยมือขวาแล้วอธิษฐานจะได้กลับมาที่นี่อีก จริงๆแล้วมันเป็นประเพณีของทหารโรมันโบราณ ที่ก่อนออกรบนั้นถือเคล็ดว่าต้องโยนเหรียญทิ้งไว้ ในบ่อน้ำแถวบ้านเพื่อจะได้กลับมาบ้านอีกคือให้รอดตายจากการรบนั่นเอง เรื่องจะจริงหรือไม่ก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าในแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาโยนเหรียญไว้ที่นี่มีมูลค่าวันละเฉลี่ยถึง €3,000 ซึ่งเค้าก็นำไปเข้าโครงการการกุศล Caritas เพื่อช่วยเหลือเรื่องอาหารคนจน นั่นหมายความว่าทุกคนที่ไปโยนเหรียญไว้ที่นี่ได้ทำบุญไปในตัว

ที่มาของชื่อ ‘อมตะนคร’ฉายาของกรุงโรม ก็มาจากความเชื่อของชาวโรมันที่ว่า..ไม่ว่าโลกเราจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือจักรวรรดิโรมันจะล่มสลายไปกี่ครั้ง กรุงโรมก็จะยังคงอยู่ต่อไป… ตอนนี้เวลาก็ผ่านมาเกือบ3000 ปีแล้วโรมก็ไม่ได้บุบสลายไปสักเท่าไร และสิ่งก่อสร้างที่พิสูจน์ความอยู่ยงคงกระพันในโรมที่ผมอยากให้ไปชมนอกเหนือจากน้ำพุเตรวี่คือที่นี่ครับวิหาร ปันเตออน.

The Pantheon

ชื่อ “Pantheon” มาจากภาษากรีกแปลว่าเทพเจ้าทุกองค์ “all the gods” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าที่นี่เป็นวัดของpagan(พวกนับถือทวยเทพหรือลัทธิที่แตกต่างจากศาสนา) และที่ต้องบอกว่าเป็นของเทพเจ้าทุกองค์เพราะตามปกติแต่และวัดจะเป็นการสร้างเพื่อบูชาเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเช่นวัดอพอลโลเป็นต้น อย่างไรก็ตามที่นี่ถูกเปลี่ยนมาเป็นวัดของศาสนาคริสต์ในช่วงศตวรรษที่7 หลังจากโรมได้กำหนดให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติโดยจักรพรรดิConstantine จนทุกวันนี้ก็ยังเปิดเป็นโบสถ์คริสต์ให้ประชาชนเข้าฟังสวดวันอาทิตย์ตามปกติ

ที่นี่เป็นโบสถ์อนุสรณ์ของนักบุญและถือเป็นสิ่งก่อสร้างโรมันที่คงกระพัน(พันปี)ที่สุดอยู่มานานกว่า 1,400 ปีแต่ที่เราเห็นนั้นเป็นversionที่3แล้ววัดแรกสร้างเมื่อปี 27 B.C.แต่ไฟไหม้วอดไป วัดversionที่2 สร้างเมื่อปีที่ 1B.C.แล้วก็พังไปเช่นกัน ในปี 125AD จึงสร้างในversionปัจจุบันที่เราเห็นมีภาษา ละตินเขียนอยู่ที่ด้านหน้าอ่านว่า “M·AGRIPPA·L·F·COS·TERTIVM·FECIT,” แปลเป็นอังกฤษได้ว่า “Marcus Agrippa, son of Lucius, consul for the third time, built this.” หมายถึงการให้เกียรติ Agrippa ผู้สร้างในversionที่1. แม้จะไม่ได้สร้างในversionปัจจุบัน

ส่วนโดมก็ถือว่าโดมแบบคอนกรีตไม่เสริมครงที่ใหญ่ที่สุดในโลกความสำคัญอีกอย่างก็คือเป็นที่ฝังศพจิตรกรที่สร้างคุณประโยชน์สร้างสรรค์งานศิลปะให้กับโรมอย่างมากนั่นคือ Renaissance painter ที่ชื่อ Raphael นั่นเอง และข้างๆเขาก็คือศพของคู่หมั้นในชีวิตจริงของเขาที่ชื่อ Maria Bibbiena เธอเป็นหลานของบาทหลวงราชาคณะที่มีอำนาจแต่เป็นเรื่องเศร้าเพราะหมั้นกันไว้ในปี1514แต่ Raphael ขอเลื่อนการแต่งงานไป6ปีและตัวเองก็ไปพบรักกับสาวลูกเจ้าของร้านขนมปังครั้นพอจะกลับมาแต่งงานคู่หมั้นคือMariaก็ตายไปซะก่อนและ Raphaelก็ตายตามไปเมื่ออายุเพียงแค่ 37 ปี

Armando Al Patheon

จริงๆแล้วที่ผมอยากแนะนำให้ท่านมาชมวิหารปันเตออนนั้น มันยังมีเหตุผลอื่นที่นอกเหนือจากการที่ได้มาชมโบราณสถานที่งดงามน่าทึ่งแห่งนี้ ผมอยากให้ท่านได้มาทานของอร่อยจากโรมที่มีชื่อไปทั่วโลกที่ร้านแถวๆนี้ด้วยแบบไม่ให้เสียเที่ยว ของอร่อยที่ว่านั้นคืออะไรทายไม่ยากเลย มันก็คือ Pasta alla carbonara พาสต้า อัลลา คาร์โบนาร่า ที่มีต้นกำเนิดจากโรมแท้ๆและร้านที่ผมกำลังพาท่านไปนั้นมันได้ชื่อว่าเป็นร้านที่ขาย 'The Best Carbonara pasta in town' เสียด้วย……

หลังจากที่เราชมวิหารปันเตอานเสร็จแล้วขากลับออกมาพอออกจากตัววิหารผ่านเสาโรมันที่เรียงกันข้างหน้าหลายๆต้นให้เลี้ยวซ้ายทันทีครับไม่น่าจะเกิด 50เมตรท่านจะเห็น ป้ายชื่อของร้าน Armando Al Patheon ที่เป็นตัวหนังสือสีขาวอยู่บนกันสาดสีน้ำตาล ไม่พลาดแน่นอน จริงๆแล้วร้านนี้ถ้ามาตอนตรงเวลาอาหารกลางวันเลยอาจต้องรอคิวครับถ้าจะไม่ให้ผิดหวังควรจองซะหน่อย(Armando al Pantheon (Salitadè Crescenzi 31,เบอร์โทร +39 06 6880 3034) ลองกะเวลาช่วงคนน้อยดูครับ(มื้อกลางวันปิดบ่าย3มื้อเย็นปิด5ทุ่ม)น่าจะเข้าไปได้เลย ที่นี่อยู่ไกล้สถานที่ท่องเที่ยวก็จริงแต่ร้านนี้ไม่ใช่Tourist Trapหรือกับดักหลอกนักท่องเที่ยว ร้านนี้คือตัวจริงเสียงจริงเลยล่ะถ้าท่านต้องการมากินพาสต้า แน่นอนว่าต้องเจาะจงเป็นคาร์โบนาร่าครับ

มารู้จักอาหารจานนี้กันก่อน

Pasta alla carbonara เป็นพาสต้าแบบcreamy แต่ต้องไส่แค่ไข่กับชีสไม่มีการใส่ครีมจึงจะเป็นของกรุงโรมแท้ๆเพราะมันเป็นอาหารกรรมกรทำง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตรอง เพื่อนอิตาเลี่ยนของผมชื่อ Claudio เคยอธิบายว่าCarbonaraมาจากคำว่า carbone ซึ่งก็คือผงถ่านเพราะเวลาพวกกรรมกรเหมืองทานกันจะใส่พริกไทยดำเยอะมากจนดูเหมือนผงถ่านปกคลุมพาสต้าจานนี้ จริงแล้วอาหารจานนี้แพร่หลายไปทั่วโลกและหลายๆคนยังเชื่อว่ามันเพิ่งเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกตอนทหารอเมริกันมาปักหลักอยู่กรุงโรมเพราะอเมริกันนำประเพณีอาหารเช้าที่เป็นเบคอนกับไข่มาแล้วมาดัดแปลงใส่เส้น กลายเป็นเมนูเด่นดังไปจนมีแทบทุกร้านอาหารตะวันตกทั่วไป แต่ถ้าเป็นของกรุงโรมแท้มันไม่ใส่ครีมและต้องใช้ guanciale(กัวนชาเล่เบคอนที่ทำจากแก้มหมู) ส่วนชีสต้อง pecorino และเส้นต้องเป็นTonnarelli(โทนนาลีลี่) เส้นจะใหญ่กว่าสปาเก็ตตี้เล็กน้อย ถ้าเราไม่ได้ทานของต้นตำหรับที่โรม ร้านที่อื่นมักจะใช้เส้นสปาเก้ตตี้ซึ่งเป็นเส้นของทางเมืองนาโปลีทางใต้และใช้แพนเชตต้า เบคอนส่วนท้องหมู ตามด้วยชีสที่โรยเป็นปามิจาน แถมบางแห่งยังไส่ครีมด้วยก็จะเพี้ยนไปจากของแท้พอสมควร

หากท่านเป็นคนไม่ชอบซอสครีมมี่ก็ต้องสั่ง “Ajo, Ojo e Peperoncino" (garlic, oil, chili)ที่เป็นพาสต้ารสกลิ่นจากพริกกระเทียมและน้ำมันมะกอก ทานง่ายหน่อยสำหรับคนไทยหรือชอบซอสแดงแบบทางโรมต้องลอง Pasta all’ amatriciana (อมาตริชานา) ชื่อนี้ได้มาจากเมืองชื่อAmatriceจากเขต Lazio เขตเดียวกับโรมมันใช้ส่วนประกอบที่เป็นมะเขือเทศ ,guanciale,กวนชาเล่ เบคอนที่ทำจากแก้มหมู แล้วเพิ่มความจัดจ้านด้วยพริกแดงหอมกระเทียมก่อนทำให้ คลุกคลิกด้วยไวน์เล็กน้อยกับสุดท้ายต้องโรย pecorino

มา3คนก็สั่งคนละแบบได้จะได้ลองครบ3แบบเลยครับ ไม่ต้องกลัวว่าClaudio Gargioli ซึ่งเป็นเชฟเจ้าของร้านจะว่า เค้าชอบด้วยซ้ำสำหรับลูกค้าที่ชอบลองหลายๆอย่าง

ไวน์ล่ะ?

Gavi di Gavi - เป็นไวน์ขาวอิตาเลียนจากAlbaค่อนข้างนุ่มและเป็นfull body ดื่มกับ Carbonaraเข้ากันดีเลย เพราะมันจะตัดความมันที่มาจากไข่แดงผสมชีสและน้ำมันที่มาจากguanciale

Teroldego - เป็นไวน์แดงอิตาเลียนที่บางเบาไม่เข้มเหมาะกับการดื่มกับซอสแดงArabbiatta,amatriciana หรือซอสน้ำมันกระเทียม aglio olio e peperoncino (garlic, oil and chilli) หรืออาจเป็นไวน์แดงแบบชนบทอิตาเลียนเช่น Primitivo , Sicilian Zinfandel หรือ Valpolicella Ripasso.

และอย่าลืมตบท้ายของหวานที่เป็น signatureของร้าน ให้ดูในเมนูหาจานนี้ "torta antica Roma"

Cr.pic.from:http://www.romewise.com/

Visit my other Food&Travel site

Steak&Wine

(use the following link)

#1 

http://khunpusit.wix.com/steakandwine

 

#2

This site will be regular updated 3-5 times a week.

 

#3

Please subscribe using your e-mail

bottom of page